วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ฝึกปฏิบัติสืบค้นเพื่อการประยุกต์ใช้ในองค์กร

ฝึกปฏิบัติสืบค้นเพื่อการประยุกต์ใช้ในองค์กร
การเรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ(Innovation and Information Management) นี้ เป้าหมายสำคัญคือให้นักศึกษาตระหนัก เห็นความสำคัญ และมีความรู้ความเข้าใจนวัตกรรมและระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมหนึ่งที่อาจารย์สั่งให้พวกเราไปทำเป็นการบ้าน ก็คือ ฝึกปฏิบัติสืบค้นข้อมูลบทคัดย่อเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่  ด้านการจัดการระบบสารสนเทศ  ด้านนวัตกรรมการศึกษา หรือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนักศึกษาสนใจเพื่อจะได้นำแนวคิดจากงานวิจัยนี้ไปปรับใช้ในองค์กรของตนเอง  ครูตาได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าจากเวบไซต์ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ที่อาจารย์กรุณาทำ Link ให้ เพื่อการเข้าถึงที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา ดังนี้  

http://www.srru.ac.th/research/tongsook/thesis.html
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/searching.php
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/etheses/searching.php
http://www.library.msu.ac.th/interface/singlemarc/_search/thesis/
http://tdc.thailis.or.th/tdc/





ดังนั้นจึงได้พบข้อมูลบทคัดย่อที่น่าสนใจ 2 เรื่อง ดังนี้


เรื่องที่ 1การใช้สารสนเทศของผู้บริหารกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11

ชื่อวิทยานิพนธ์ การใช้สารสนเทศของผู้บริหารกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 11

ชื่อสกุลผู้วิจัย ประยุทธ เฮ้าชัยภูมิ

ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

อาจารย์ที่ปรึกษา ๑. รองศาสตราจารย์ ดร. นิตยา ภัสสรศิริ

๒. รองศาสตราจารย์ ดร. สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร

ปีที่จบการศึกษา ๒๕๔๐

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้สารสนเทศการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการเปรียบเทียบตามจังหวัดและขนาดโรงเรียน รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารสนเทศกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 11 จำนวน 232 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าห้าระดับซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้วัดระดับการใช้สารสนเทศ สำหรับคุณภาพการบริหารงานวิชาการใช้ผลการประเมินของกรมสามัญศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการหาค่าสหสัมพันธ์ การทดสอบทางสถิติใช้ระดับความมีนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัยพบว่า

1. การใช้สารสนเทศการบริหารงานวิชาการ

1.1 ผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ ใช้สารสนเทศในระดับ ปานกลาง ส่วนในจังหวัดนครราชสีมาใช้ในระดับมาก

1.2 ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กใช้สารสนเทศการบริหารงานวิชาการในระดับปานกลาง ส่วนในโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษใช้ในระดับมาก

2. คุณภาพการบริหารงานวิชาการ

2.1 โรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์ มีคุณภาพการบริหารงานวิชาการระดับปานกลาง ส่วนในจังหวัดนครราชสีมามีคุณภาพในระดับดี

2.2 โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง มีคุณภาพการบริหารงานวิชาการระดับปานกลาง ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่และใหญ่พิเศษมีคุณภาพในระดับดี

3. การใช้สารสนเทศการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการอย่างมีนัยสำคัญ



คำสำคัญ สารสนเทศ การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนมัธยมศึกษา

Title : Administrators’ Use of Information and the Quality of their Academic

Administration in Secondary Schools under the General Education

Department in Educational Region 11

By : Prayut Haochaiyaphum

Degree : Master of Education

Major Field : Educational Administration

School of : Educational Studies

Thesis Advisors : 1. Associate Professor Dr. Nittaya Passornsiri

2. Associate Professor Dr. Saritpong Limpisathian

Academic Year : 1997

ABSTRACT

The objectives of this research were to study the level of use of information by  administrators and the quality of their academic administration compared by province and school size, including the relation between the use of information and the quality of academic administration in secondary schools. The sample group used in this study consisted of 232 administrators from General Education Department secondary schools in educational region 11. Research tools included rating scale questionnaires developed by the researcher to measure the level of information usage. Evaluation results from the General Education Department were used as an indicator of the  quality of the academic administration. The data were analysed through determining the mean, standard deviation, analysis of variance, and correlation. Statistical testing was at a significant level of 0.05.

The research revealed that

1. Use of information for academic administration

1.1 Administrators in secondary schools in Chaiyaphum, Surin, Si Sa Ket, and

Burl Ram Provinces made use of information at a medium level. Those in Nakhon Ratchasima Province utilized information at a high level.

1.2 Administrators in small secondary schools used information resources at a

medium level, whereas those in medium, large, and very large schools used such information at a high level.

2. Quality of academic administration

2.1 Schools in Chaiyaphum, Surin, Si Sa Ket, and Buri Ram Provinces were found

to have a medium level of quality in academic administration. Those in Nakhon Ratchasima Province, however, were found to have a high level.

2.2 Small and medium secondary schools had a medium level of quality in

academic administration while large and very large schools had a high level of quality.

3. The use of information was related significantly to the quality of the academic

administration.

Key words : information, academic administration, secondary school





เรื่องที่ 2


การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชื่อวิทยานิพนธ์ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้วิจัย นายศิริชัย สมพงษ์ ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)

อาจารย์ที่ปรึกษา (1) รองศาสตราจารย์ ดร.สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร

(2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฏฐพร พิมพายน

ปีการศึกษา 2544

บทคัดย่อ

การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานการประถม ศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ยังไม่มีการจัดระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ผู้วิจัย จึงได้วิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานผู้วิจัยได้พัฒนาโปรแกรมต้นแบบสำหรับการบันทึกและประมวลผลข้อมูลของนักเรียนที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา รวม 7 ด้านประกอบด้วย ด้านทะเบียนนักเรียน ด้านการมาเรียนของนักเรียน ด้านสุขภาพของนักเรียน ด้านสภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน ด้านผลการเรียนของนักเรียน ด้านสวัสดิการนักเรียนและ ด้านการร่วมกิจกรรมของนักเรียนซึ่งมีรายการข้อมูลทีต้องเก็บบันทึกรวม 32 รายการ พร้อมทั้งจัดทำเอกสารคู่มือการใช้โปรแกรมการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้โปรแกรมต้นแบบนี้คือ ครูสายงานการสอนที่สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้จากโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด อุบลราชธานี จำนวน 25 คน

ผลการวิจัยพบว่า

รายการข้อมูลที่กำหนดไว้ในโปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนทุกรายการมีความต้องการจำเป็นสำหรับใช้ใ นระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารงานโรงเรียน ส่วนการประเมิน(1) ความคาดหวังผลที่ได้จากการบันทึกและการประมวล ผลข้อมูล ด้านประโยชน์และความเหมาะสมของโปรแกรม (2) การประเมินประสิทธิภาพด้านความสะดวกในการใช้โปรแกรม ด้านความทนทานต่อความผิดพลาดที่เกิดจากการใช้โปรแกรมด้านความคุ้มค่าและความพึงพอใจในการนำโปรแกรมไปใช ้ทุกรายการของระบบสารสนเทศ มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก สำหรับคู่มือการใช้โปรแกรมการจัดระบบสารสนเทศ มีผลการประเมินคุณภาพด้านความถูกต้องชัดเจนของเนื้อหา ด้านการใช้ภาษาที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปปฏิบัติตามความเหมาะสมของเนื้อหาความสมบูรณ์ และความครอบคลุมของเนื้อหาในเอกสาร ทุกรายการมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก



คำ สำ คัญ ระบบสารสนเทศ การบริหารงานโรงเรียน โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Thesis title: THE DEVELOPMENT OF INFORMATION SYSTEM FOR SCHOOL

BASIC EDUCATION ADMINISTRATION

Researcher: Mr.Sirichai Sompong: Degree: Master of Education (Education Administration); Thesis

advisors: (1) Dr. Saritpong Limpisathian Associate Professor; (2) Nathaporn Pimpayon Assistant

Professor; Academic year: 2001

ABSTRACT

The objectives of this study was to develop the information system for primary  school management. The samples of this research were 25 teachers which usable computer. The studying instruments were consisted of 1) information system program for primary school management 2 ) requisite questionnaires for information system program development 3) questionnaires for using and efficient evaluation an information system program 4) questionnaires for evaluation an instructional manual for information system program.

The finding of this study were the followings: 1) Most of the information  details which provided in the formation system 32 item lists were necessary for primary schools management. 2 ) There were more qualities for purposes attainment of using information system program, preparing data, writing data, usefulness and suitability of information system program. 3) There were more efficiencies for comfortable using, enduring in error of program using, worthiness and satisfaction with information system program. 4) There were more qualities of an instructional manual about correcting and clarity of details, writing in simplify language and easy to use.

Keywords: Information System, School Administration, Basic Educational School__

บรรณนุกรม

ประยุทธ เฮ้าชัยภูมิ (2540). การใช้สารสนเทศของผู้บริหารกับคุณภาพการบริหารงานวิชาการใน โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11. สืบค้นจาก
http://www.odi.stou.ac.th/body/PraHao/Abs.pdf วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553.

นายศิริชัย สมพงษ์ (2544). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้น พื้นฐาน. สืบค้นจาก
http://www.odi.stou.ac.th/body/SirSog/Abs.pdf วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น