วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทัวร์จันทบุรี-ระยอง..ฮิ ตอน2

          ครูตากับคณะได้ไปกราบนมัสการวัดเขาชีจรรย์  อ.สัตหีบ  จ.ชลบุรี   เราไม่รู้ที่ไปที่มาก็จะแค่ดู  แค่เห็น แค่ได้ถ่ายภาพไปอวดเพื่อน ๆ ว่าครั้งหนึ่งได้มาที่นี่เท่านั้นเอง
          ครูตาจึงเข้าไปถามชายหนุ่มคนหนึ่ง  เป็นช่างถ่ายภาพรับบริการถ่ายภาพอยู่บริเวณนั้นจึงได้รู้ประวัติความเป็นมา  ว่าเขานี้ ชื่อ เขาชีจรรย์  เป็นแม่ชีผู้พี่  และ ยังมีเขาชีโอน  ซึ่งเป็นชื่อของแม่ชีผู้น้อง อยู่ใกล้ ๆ กัน  การก่อสร้าง โดย ดำริของสม เด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว  เป็นภาพพระพุทธรูปที่ใหญมาก ๆ เมหน้าผา  โดยวิธียิงเรเซอร์  และลายเส้นเป็นทองฝังอยู่  และยังมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ที่พระถันด้านขวาด้วย  ครูตารู้เท่านี้ไม่กระจ่างชัด จึงตามมาสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมค่ะ





ที่ตั้ง


เขาชีจรรย์ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี การเข้าถึงทำได้โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3 ซึ่งเป็นทางหลวงจากกรุงเทพฯ-ตราด ทางเข้า เข้าได้ 2 ทาง คือ เลี้ยวซ้ายเข้าวัดญาณสังวรารามมหาวิหารที่ประมาณก่อนถึง กิโลเมตรที่ 161 จากวัดญาณฯ มีทางต่อเชื่อมไปเขาชีจรรย์ ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดญาณฯ ประมาณ 6 กิโลเมตร หรือจะเข้าทางวัดหนองจับเต่า เมื่อวิ่งเลย กิโลเมตรที่ 161 มาแล้วก็ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ก็จะถึงเขาชีจรรย์

ลักษณะของแหล่ง

เขาชีจรรย์เป็นเขาลูกหนึ่งในกลุ่มเขาที่อยู่ใกล้ ๆ กัน รวม 3 ลูก เมื่อมองจากถนนเข้าสู่กลุ่มเขา เขาชีจรรย์จะมีลักษณะคล้ายกรวยคว่ำ ทรงยอดแหลม มีความสูงจากพื้นดิน 180 เมตร หรือ สูงจากระดับน้ำทะเล 248 เมตร ไหล่เขาทางด้านเหนือหรือด้านที่มองจากถนน เคยเป็นสถานที่ที่มีการระเบิดหินเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้างมาก่อน จึงเปิดให้เห็นเนื้อหิน เป็นหน้าผาค่อนข้างเรียบจนถึงยอดเขา บนหน้าผามีรูปแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูปลายเส้น รูปประทับนั่ง ปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตร ศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร มีฐานบัวสูง 21 เมตร รวมความสูงทั้งหมด 130 เมตร โดยลายเส้นแกะสลักลงในเนื้อหินเป็นร่องลึก ขนาดความกว้าง 30-40 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ฝังด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองเต็มร่อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ทรงพระราชทานนามว่า พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ซึ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด บนหน้าผาจากระยะไกล จัดเป็นพระพุทธรูปแกะสลักในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลก

พระนาม พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา มีความหมายว่า พระพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรือง สว่าง ประเสริฐดุจดังมหาวชิระ พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองศิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50

ธรณีวิทยา

เขาชีจรรย์ประกอบด้วยหินปูนรอยริ้ว (Cleaved limestone) โดยเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนปูนในทะเลตื้นเมื่อประมาณ 280 ล้านปีมาแล้ว หินปูนรอยริ้วนี้ ได้รับอิทธิพลความร้อนจากหินแกรนิตยุคไทรแอสซิก ที่แทรกดันตัวอยู่ข้างใต้และข้างเคียง ทำให้เกิดมีกลุ่มแร่แคลก์ซิลิเกต (Calc - silicate) สีขาว ม่วงน้ำตาล และสีเขียว เรียงตัวเป็นแนวยาวขนานกับรอยริ้วในหินปูน ใกล้กับแนวสัมผัสของหินปูนกับหินแกรนิต จะพบว่ามีกลุ่มแร่สีขาวของแร่โวลลาสโทไนต์ (Wollastonite) เกิดขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากนี้อิทธิพลดังกล่าว ยังทำให้หินปูนรอยริ้ว เกิดการคดโค้ง บิดงอ และเกิดรอยแตก รอยแยก ที่มีความชัน 50-70 องศา ปรากฏทั่วไปตามหน้าผา อันเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถแกะสลักพระพุทธรูปแบบนูนต่ำตามวัตถุประสงค์เดิมได้ จนต้องเปลี่ยนมาเป็นการจัดสร้างแบบลายเส้นตามพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกับคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2535 และพระราชทานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2535

หน้าผาเขาชีจรรย์ได้รับการปรับแต่งให้เรียบ เสริมความแข็งแรงของรอยแตกรอยแยก ทำร่องระบายน้ำไหล และควบคุมน้ำซึมตลอดรอยเลื่อนของหน้าผา ก่อนที่จะทำการจัดสร้างพระพุทธรูปลายเส้น นอกจากนี้บริเวณรอบองค์พระ บริเวณลานหินหน้าองค์พระ และบริเวณรอบนอกออกมาซึ่งจัดเป็นที่นมัสการองค์พระและส่วนบริการ ได้รับการตกแต่งภูมิทัศน์ก่อสร้างศาลา และทำลานจอดรถสำหรับบริการผู้มาเที่ยวชมเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันเขาชีจรรย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรีคู่กับวัดญาณสังวรารามมหาวิหาร







  
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น